โรงเรียนออนไลน์
อย.น้อย

00:00
00:00
icon eye3,349 ผู้เรียนกำลังดูวิชาเรียนนี้
    สิทธิผู้บริโภค เพื่อการบริโภคปลอดภัย
    แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre test)
    เนื้อหาบทเรียน
    อินโฟกราฟิกสรุปสาระสำคัญ
    แบบทดสอบหลังเรียน (Post test)
    สรุปภาพรวมบทเรียน
    การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย
    การจัดการปัญหาข่าวปลอมด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยการคิดวิเคราะห์แยกแยะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะ สมเหตุผล
    การจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
    การเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและระบาดวิทยา
    การดำเนินงานร่วมกับชุมชน

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre test)

อย.น้อย

00
:
00
1.

ความสำคัญของ “สิทธิผู้บริโภค” ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

  • ก.
    เป็นสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยทุกคนที่ต้องได้รับ
  • ข.
    เป็นสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง
  • ค.
    เป็นสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย
  • ง.
    เป็นสิทธิของผู้ผลิตสินค้ากำหนดไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้สินค้า
2.

“สิทธิผู้บริโภค” ถูกกำหนดไว้ในลักษณะใด

  • ก.
    กฏหมายในรูปแบบพระราชบัญญัติ
  • ข.
    สัญญาที่ผู้ผลิตสินค้า ให้คำรับรองกับผู้บริโภคถึงความปลอดภัยของสินค้า
  • ค.
    ข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตสินค้ากับหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมาย
  • ง.
    ข้อบังคับที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้
3.

หากผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการใช้สินค้า สามารถได้รับคุ้มครองในลักษณะใด

  • ก.
    ค่าปรับผู้ผลิตสินค้าและบริการ
  • ข.
    ลงโทษจำคุกผู้ผลิตสินค้าและบริการ
  • ค.
    ไม่มีข้อใดถูกต้อง
  • ง.
    ค่าชดเชยความเสียหายจากการใช้สินค้าและบริการนั้น
4.

“ผู้บริโภค” หมายถึง ข้อความใดต่อไปนี้

  • ก.
    ผู้ที่ต้องบริโภคอาหารและยาเป็นประจำ
  • ข.
    ผู้ที่ซื้อใช้สินค้า โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้านราคาและคุณภาพของสินค้านั้นเป็นสำคัญ
  • ค.
    ผู้ที่ซื้อ ใช้สินค้า หรือรับบริการจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบนำเสนอหรือชักชวนให้เลือก
  • ง.
    ไม่มีข้อใดถูกต้อง
5.

กรณีต่อไปนี้ นาง B ซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทสมุนไพร ที่ระบุสรรพคุณไว้ว่ามีฤทธิ์ช่วยในการระบายเท่านั้น แต่นาง B ได้รับข้อมูลจากเพื่อนว่าสามารถช่วยลดนำหนักได้ จึงเลือกซื้อสินค้ามาใช้ เมื่อไม่ได้ผลตามที่ต้องการจากสินค้านั้น ลักษณะเหตุการณ์เช่นนี้ นาง B จะได้รับการคุ้มครองตามสิทธิผู้บริโภคหรือไม่

  • ก.
    ไม่ได้รับ เพราะฉลากระบุสรรพคุณสินค้าไว้ถูกต้องแล้ว
  • ข.
    ได้รับ เพราะประชาชนไทยทุกคน ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคทุกกรณี
  • ค.
    ไม่ได้รับ เพราะเป็นการหลงเชื่อคำบอกกล่าวของเพื่อน
  • ง.
    ได้รับ เพราะใช้สินค้าแล้วไม่ได้ผลตามที่หวังไว้
6.

กรณีต่อไปนี้ นาย A ซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ จากข้อความโฆษณาในโทรทัศน์ ว่า “ซื้อยาสีฟันยี่ห้อ ก. จะได้รับแปรงสีฟันแถมมาให้กล่องทันที” เมื่อซื้อไปแล้ว ปรากฏว่าไม่มี ลักษณะเหตุการณ์เช่นนี้ นาย A จะได้รับการคุ้มครองตามสิทธิผู้บริโภคหรือไม่

  • ก.
    ไม่ได้รับ เพราะร้านสะดวกซื้อไม่ได้บังคับให้นาย A เลือกสินค้ายี่ห้อนี้
  • ข.
    ไม่ได้รับ เพราะเป็นการหลงเชื่อโฆษณาของนาย A เอง
  • ค.
    ได้รับ เพราะยาสีฟันยี่ห้อ ก. ผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้
  • ง.
    ได้รับ เพราะนาย A ถูกล่อลวงให้ซื้อสินค้าโดยไม่เป็นธรรม
7.

ข้อใดเป็นการส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสม

  • ก.
    รณรงค์ให้เลือกซื้อสินค้า ทางห้างสรรพสินค้าชั้นนำเท่านั้น
  • ข.
    ถูกทุกข้อ
  • ค.
    รีวิวสินค้า ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
  • ง.
    ให้ความรู้ผ่านเสียงตามสายและการรณรงค์ในชุมชน
8.

ข้อใดไม่ใช่บทบาทของผู้บริโภคที่ดี ที่ช่วยพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของตนเอง

  • ก.
    เยาวชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ได้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการอย่างปลอดภัย
  • ข.
    ยอมรับว่าการเลือกใช้สินค้าและบริการทุกชนิด มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องยอมรับความเสี่ยงนั้นให้ได้
  • ค.
    ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้มีความเข้าใจ และมีทักษะในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
  • ง.
    การรวมกลุ่มหรือการรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ
9.

กรณีต่อไปนี้ นาง C ถูกเชิญให้ลองชิมอาหารชนิดหนึ่งในห้างสรรพสินค้า แต่เมื่อชิมเสร็จ ผู้ขายบอกว่าต้องซื้อทันที 1 แพค ทำให้นาง C ต้องซื้อทั้งที่ไม่ต้องการ ลักษณะเหตุการณ์เช่นนี้ นาง C จะได้รับการคุ้มครองตามสิทธิผู้บริโภคหรือไม่

  • ก.
    ไม่ได้รับ เพราะเข้าไปชิมสินค้านั้นแล้ว ต้องรับผิดชอบ
  • ข.
    ไม่ได้รับ เพราะนาง C ไปโดยสมัครใจ ผู้ขายไม่ได้บังคับ
  • ค.
    ได้รับ เพราะนาง C เป็นผู้ลูกค้า และในการค้าขายลูกค้า คือพระเจ้า
  • ง.
    ได้รับ เพราะเป็นการซื้อโดยไม่สมัครใจของผู้บริโภค
10.

หน่วยงานภาครัฐใดที่มีหน้าที่กำกับ ดูแล เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ

  • ก.
    กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
  • ข.
    องค์การเภสัชกรรม
  • ค.
    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ง.
    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ผลการทดสอบ : แบบทดสอบหลังเรียน
หลักสูตร ผลิตภัณฑ์อาหาร

สรุปผลคะแนน

คําถามที่ตอบถูก
3
คําถามที่ตอบผิด
2
ผลการทดสอบ
เปรียบเทียบคะแนน
ก่อนเรียน
3/5
หลังเรียน
3/5
กลับสู่บทเรียน

ใบประกาศนียบัตร

Your browser does not support the canvas element.

ผลการทดสอบ : แบบทดสอบหลังเรียน
หลักสูตร อย.น้อย

สรุปผลคะแนน

บทเรียนที่ 1
สิทธิผู้บริโภค เพื่อการบริโภคปลอดภัย
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
บทเรียนที่ 2
การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
บทเรียนที่ 3
การจัดการปัญหาข่าวปลอมด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยการคิดวิเคราะห์แยกแยะ
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
บทเรียนที่ 4
การใช้ยาปฏิชีวนะ สมเหตุผล
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
บทเรียนที่ 5
การจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
บทเรียนที่ 6
การเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและระบาดวิทยา
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
บทเรียนที่ 7
การดำเนินงานร่วมกับชุมชน
0/ 0
คะแนนก่อนเรียนที่ทำได้ 0 คะแนน
ผลการทดสอบ
กลับสู่โรงเรียน

ใบประกาศนียบัตร

Your browser does not support the canvas element.