Notice: Undefined index: USERDATA in /home/website/fda.go.th/wp-content/themes/e-school/header.php on line 207
ขอความร่วมมือท่านตอบแบบสำรวจความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เพื่อเป็นตัวแทนในการประเมินระดับความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ของประเทศ โดยประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อ
ส่วนที่ 2 ข้อมูลความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับบุคคล
จำนวน 40 ข้อ
เมื่อตอบคำถามครบทั้ง 2 ส่วนแล้ว กรุณากดยืนยันการส่งคำตอบ
โดยระบบจะรวบรวมข้อมูลของท่านเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ต่อไป
หลังจากนั้นท่านจะสามารถเข้าใช้งานระบบได้ตามปกติ
หลายคนมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการกินยาคุมฉุกเฉิน จริงๆ แล้วยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เหมาะสมกับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งคำว่า “ฉุกเฉิน” ในที่นี้หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิดเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดจากการผิดพลาดจากการคุมกำเนิด เช่น การรั่วหรือฉีกขาดของถุงยางอนามัย การลืมรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป หรือการถูกข่มขืน เป็นต้น
วิธีการรับประทานที่ถูกต้องคือ รับประทานเม็ดแรกให้เร็วที่สุด ภายหลังมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้ป้องกันภายใน 72 ชั่วโมง และรับประทานเม็ดที่ 2 หลังจากเม็ดที่ 1 ภายใน 12 ชั่วโมง และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้สำหรับในประเทศไทยจะมียาคุมกำเนิดฉุกเฉินจำหน่ายลักษณะเป็นกล่อง โดย 1 กล่องจะมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด โดยในแต่ละเม็ดประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 กรัม
จากการศึกษาพบว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินสามารถยับยั้งหรือทําให้การตกไข่เลื่อนออกไป อย่างไรก็ตามยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินทําให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอาจทําให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะในการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว และอาจมีผลต่อการเดินทางของไข่ที่ถูกผสม แล้วอย่างไรก็ตามการรับประทานยานี้ภายหลังตั้งครรภ์แล้ว จะไม่มีผลให้การสิ้นสุดการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่เป็นผลให้เกิดการแท้งเนื่องจากยาคุมฉุกเฉินเป็นการใช้ยาเพียงระยะสั้น อีกทั้งยาคุมฉุกเฉิน ไม่ได้มีผลต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสามารถคุมกำเนิดได้ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัย
ในบางรายอาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทำให้ประจำเดือนมาเร็วหรือช้าลง บางรายอาจมีอาการปวดท้อง เจ็บคัดเต้านม มีเลือดออกกระปริบกระปรอยหรือมีเลือดออกมากระหว่างเดือน และหากหลังใช้ยา ประจำเดือนยังไม่มาเกินกว่า 1 สัปดาห์ควรตรวจดูว่าเป็นเพราะตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยควรไปปรึกษาแพทย์
อย่างไรก็ตามการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินอย่างถูกต้องภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2 ผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินจะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 8หรือกล่าวได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉิน สามารถลดภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น
เรียกได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉิน มีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีคุมกําเนิดแบบปกติทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการตั้งครรภ์ในผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉิน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เริ่มต้นรับประทานยา และช่วงเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ว่าอยู่ในช่วงใดของรอบเดือน ดังนั้น ถ้านําเอายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินมาใช้บ่อยครั้ง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการล้มเหลวได้ จึงเป็นเหตุผลว่า ทําไมจึงไม่ควรจะนําเอายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินมาใช้เพื่อคุมกําเนิดเป็นประจํา
แหล่งที่มา : https://www.phyathai.com/article_detail
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้ในการทำแบบทดสอบออนไลน์
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้ในการทำแบบทดสอบออนไลน์
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้ในการทำแบบทดสอบออนไลน์
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
หลักสูตรการประเมินและการวิเคราะห์ความเสี่ยง (RA) ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์
หลักสูตรการประเมินและการวิเคราะห์ความเสี่ยง (RA) ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์
เว็บไซต์ FDA Center ปิดปรับปรุง
ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 2567 เวลา 00:00 น
จนถึงวันที่ 14 ก.พ. 2567 เวลา 23:00 น
โดยผู้ใช้งานจะไม่สามารถใช้งานได้ ในช่วงเวลาดังกล่าว
ขออภัยในความไม่สะดวก