Notice: Undefined index: USERDATA in /home/website/fda.go.th/wp-content/themes/e-school/header.php on line 207
ขอความร่วมมือท่านตอบแบบสำรวจความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เพื่อเป็นตัวแทนในการประเมินระดับความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ของประเทศ โดยประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อ
ส่วนที่ 2 ข้อมูลความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับบุคคล
จำนวน 40 ข้อ
เมื่อตอบคำถามครบทั้ง 2 ส่วนแล้ว กรุณากดยืนยันการส่งคำตอบ
โดยระบบจะรวบรวมข้อมูลของท่านเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ต่อไป
หลังจากนั้นท่านจะสามารถเข้าใช้งานระบบได้ตามปกติ
อย. เตือนภัย อย่านำยาฆ่าแมลงมาฉีดพ่นปลาแดดเดียว เพื่อป้องกันแมลงวันตอม คนกินอันตราย คนขายก็มีความผิดด้วย เพราะเป็นการจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้โพสต์เฟสบุ๊ก ซื้อปลาแดดเดียวมาทอดให้ลูกสาวอายุ 2 ปี 4 เดือน กิน มีอาการชักเกร็ง คอแข็ง ลิ้นแข็ง น้ำลายไหล แพทย์ระบุว่าได้รับสารพิษจำพวกยาฆ่าแมลงออแกโนฟอสเฟตนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใย หากมีการนำยาฆ่าแมลงมาฉีดพ่นลงในตัวปลาแดดเดียว เพื่อป้องกันแมลงวันตอม วิธีการเช่นนี้นับว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างมาก ทั้งนี้ ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต (Organophosphates) เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศเกษตรกรรม แต่มีพิษเฉียบพลันสูง ทำให้หลอดลมตีบ หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องบิด ท้องเสีย เหงื่อออก น้ำลายน้ำตาไหล ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ม่านตาเล็ก ตามัว ปัสสาวะบ่อยกลั้นไม่อยู่ ทั้งนี้ อาการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณของสารและน้ำหนักตัวของผู้ที่ได้รับสารจากอาหารที่มีสารดังกล่าว นอกจากนี้ การใช้สารในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในปลาแดดเดียวดังกล่าว เป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากเป็นการใช้ฉีดพ่นอาหารโดยตรง ซึ่งอาหารที่มีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อปลาแดดเดียวจากสถานที่จำหน่ายที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากปกติแล้วอาหารจําพวกปลาตากแห้งมักมีแมลงวันตอม แต่หากไม่พบแมลงวันมาตอมก็อย่าได้วางใจซื้อ ควรล้างให้สะอาดและนํามาผ่านความร้อนให้สุกก่อนนํามารับประทานหากผู้บริโภคไม่แน่ใจในคุณภาพหรือความปลอดภัยของอาหาร หรือพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค และหากมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line @FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้ในการทำแบบทดสอบออนไลน์
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้ในการทำแบบทดสอบออนไลน์
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและใช้ในการทำแบบทดสอบออนไลน์
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
เป็นบทเรียนที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีสื่อความรู้ประเภท สื่อวีดิทัศน์ สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
หลักสูตรการประเมินและการวิเคราะห์ความเสี่ยง (RA) ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์
หลักสูตรการประเมินและการวิเคราะห์ความเสี่ยง (RA) ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์
เว็บไซต์ FDA Center ปิดปรับปรุง
ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 2567 เวลา 00:00 น
จนถึงวันที่ 14 ก.พ. 2567 เวลา 23:00 น
โดยผู้ใช้งานจะไม่สามารถใช้งานได้ ในช่วงเวลาดังกล่าว
ขออภัยในความไม่สะดวก